วารสาร HRintelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2553

  ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมการท่องเที่ยวธุรกิจที่พัก : ระยะที่ 1 : กลยุทธ์ในการดำเนินการ ภูมิความรู้ความชำนาญและประเภทของการบริหารกิจการ
  Psycological Factors of Success of the independent hotel entrepreneurs : Phase 1 : strategic processes, human capital and administrative styles

  อุบลวรรณา ภวกานันท์

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ความสัมพันธ์ และสมการทำนายของกลยุทธ์ในการดำเนินการ ภูมิความรู้ความชำนาญ และประเภทของการบริหารกิจการ ต่อความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจประเภทโรงแรมแบบอิสระในแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเต็มใจให้ความร่วมมือและถูกสุ่มแบบบังเอิญตามหลักสถิติของ Yamane ใน 6 ภาค จาก 13 จังหวัดที่ผ่านเกณฑ์ว่าประสบความสำเร็จและดำเนินธุรกิจมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 543 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการที่บริหารกิจการด้วยตนเองจำนวน 378 ราย และเป็นผู้ประกอบการที่ลงทุน ควบคุมดูแล วางนโยบายแล้วให้ CEO บริหารแทนจำนวน 167 ราย โดยทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก และปัญหาการประท้วงทางการเมืองจนมีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างเป็นรายบุคคล แบบสอบถามประเมินค่าด้วยตนเองของผู้ประกอบการ และแบบสอบถามประเมินค่าโดยผู้สัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูรแบบขั้นตอน
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์แบบการวางแผนเฉพาะสิ่งที่สำคัญ มีความสำเร็จในการประกอบการอยู่ในระดับสูง บริหารงานด้วยตนเอง มีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ในระดับปริญญาตรี มีความชำนาญในวิชาชีพและประสบการณ์ในการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มที่บริหารงานด้วยตนเองส่วนมากใช้กลยุทธ์แบบการวางแผนเฉพาะสิ่งที่สำคัญ ในขณะที่กลุ่มบริหารแบบ CEO ส่วนมากใช้กลยุทธ์แบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ แต่มีความสำเร็จในการประกอบการไม่แตกต่างกันคืออยู่ในระดับสูง รวมทั้งมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มบริหารแบบ CEO มีประสบการณ์ในการบริหารและความชำนาญในวิชาชีพสูงกว่ากลุ่มบริหารงานด้วยตนเอง ซึ่งผลของแต่ละภาคและจังหวัดมีความผันแปรไปตามประเภทในการบริหารกิจการ
          ส่วนผลความสัมพันธ์พบว่า ความสำเร็จของการประกอบการมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับกลยุทธ์การวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ ประสบการณ์ในการบริหาร และทางลบกับกลยุทธ์แบบการตั้งรับ แต่ความสำเร็จของการประกอบการสามารถถูกทำนายค่าความผันแปร 6.7% ในทางบวกด้วยกลยุทธ์แบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์และในทางลบด้วยกลยุทธ์แบบการตั้งรับซึ่งมีค่าความคลาดเคลื่อน 6.712 เท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการทั้ง 2 ประเภทจะมีผลความสัมพันธ์ของกลยุทธ์แบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ ความชำนาญในวิชาชีพ และประสบการณ์ในการบริหารกับความสำเร็จของการประกอบการไม่แตกต่างกัน โดยในกลุ่มความสำเร็จระดับสูงกลุ่มบริหารแบบ CEO จะมีหรือใช้มากกว่ากลุ่มที่บริหารงานด้วยตนเอง แต่ผลกลยุทธ์แบบการวางแผนเฉพาะสิ่งสำคัญพบว่ากลุ่มบริหารแบบ CEO จะใช้กลยุทธ์นี้น้อยกว่ากลุ่มที่บริหารงานด้วยตนเอง ส่วนใหญ่กลุ่มความสำเร็จการระดับปานกลางของกลยุทธ์แบบการวางแผนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์ และความชำนาญในวิชาชีพ ผู้บริหารแบบ CEO จะมีหรือใช้มากกว่ากลุ่มที่บริหารงานด้วยตนเอง แต่ผลของกลยุทธ์แบบการตั้งรับพบว่า การบริหารแบบ CEO จะใช้กลยุทธ์นี้น้อยกว่ากลุ่มที่บริหารธุรกิจด้วยตนเอง ผลความสัมพันธ์ของแต่ละภาคและจังหวัดพบว่ามีความแตกต่างในลักษณะเฉพาะตามสภาพเงื่อนไขของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว

Abstract
            The objective of this study is to investigate the characteristics, relationships, and predictive power of the strategic processess, human capital and administrative styles of the independent hotel entrepreneurs in the most successful tourist districts of Thailand. The sample is composed of independent hotel entrepreneurs who are willing to cooperate with the project. The research conduct an opportunity sampling by using Yamane’s statistic method. The project covers 6 regions and 13 provinces which are considered the most successful tourist areas by our criteria such as they must be in business for at least 3 years. The number of hotels being studied are 541 cases in total. Among them, 378 cases are run by the entrepreneurs themselves and th rest of the 167 cases are run by the CEOs who are hired to run the business. The entrepreneurs invest, control and set up the policies them let the CEOs run the business. The research project collects data during the period from October 2007 to September 2008 which was prior to the global recession crisis that started in the USA. And expanded world wide. The project was also conducted prior to the political protest in Thailand which culminated in the closing of the Suwannaphoom airport in Thailand. The instruments being used in this study are individual structured interviews and questionnaires which compose of entrepreneurs’ self-report and interviewers’ evaluations. The statistical analysis tools being used are frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Coefficient of Correlation and Stepwise multiple regression analysis. The findings are as follows:
            Most entreprenuers employ the strategy of critical point planning and have high level of success. They are mostly self-employed and most of them hold an undergraduated degree. They have medium level of professional skill and administrative experiences. The entrepreneurs who run the business by themselves are likely to employ critical point planning as a strategy while most CEOs use complete prior planning. As for other strategies, the self-employed entrepreneurs and the CEOs do not differ in the employment of them as well as do not differ in-terms of success which means they have been all successful in conducting businesses. They also have the same level of education since they all have a bachelor’s degree. However, there are some differences which are the CEOs have more administrative experiences and higher professional skills. Moreover, administrative styles mark some different results in Parts and Provinces conditions.
            The results of the relationship are the success of the business in positively correlated with the strategy of complete prior planning and is negatively correlated with the reactive strategy. These factors can predict the variance of success in business administration. As for the two different administrative styles, i.e., the self employed and employment of CEOs they both have been successful. However, among these successful administrators, the CEOs tend to employ complete prior planning strategy as well as having higher professional skills and more administrative experiences. As for the critical point planning strategy the CEOs use this strategy less frequently than the self-employed entrepreneurs. As for the moderately successful businesses, the CEOs tend to employ the strategy of completer prior planning and have higher professional skills than the self-employed entrepreneurs. In addition, the CEOs have less frequently used reactive strategy. It has been discovered that the details and the results of the relationships have specific characteristics because they are conditioned by the context of each tourist area.