วารสาร HRintelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2553

  ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมธุรกิจการท่องเที่ยวและที่พัก : ความรู้ : ระยะที่ 2 – บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชำนาญ และคุณลักษณะเฉพาะบุคคล
  Psychological Factors of Entrepreneurial Success in Tourism and Accommodations Small Business Entrepreneurs: Knowledge Phase 2 : Entrepreneurial Orientation, Human Capital and Success of Entrepreneurs

  อุบลวรรณา ภวกานันท์

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้เป็นระยะที่ 2 ของโครงการวิจัย 3 ปีเรื่อง “ปัจจัยทางจิตวิทยาของความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมการท่องเที่ยวและที่พัก : ความรู้” ซึ่งเป็นการศึกษาถึงลักษณะ ความสัมพันธ์ และสมการทำนายของ บุคลิกผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชำนาญ และคุณลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล ต่อความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจประเภทโรงแรมแบบอิสระจาก 6 ภาคที่ผ่านเกณฑ์ตัสินว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศไทย และดำเนินธุรกิจมาไม่น้อยกว่า 3/5 ปี รวมทั้งเต็มใจให้ความร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มแบบบังเอิญตามหลักสถิติของ Yamane มีจำนวนทั้งสิ้น 525 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างเป็นรายบุคคล แบบสอบถามความประเมินค่าด้วยตนเองของผู้ประกอบการ และแบบสอบถามประเมินค่าโดยผู้สัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ได้ผลการศึกษาดังนี้
          1. ผู้ประกอบการส่วนมากเป็นชาย อายุระหว่าง 34-44 ปี ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพฯ มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี เคยเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มเติม มีสมาชิกหลักในครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการร่วมและเข้าร่วมดำเนินงาน ส่วนมากไม่เคยเป็นผู้ประกอบการมาก่อนโดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรม แต่เคยเป็นพนักงานโดยเฉพาะในธุรกิจการโรงแรม โดยจะสร้างธุรกิจโรงแรมด้วยตนเองและส่วนใหญ่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ. 2540 รองลงมาคือ 2535 และ 2529 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1,000,000 บาท มีพนักงานในธุรกิจ 31 คนขึ้นไป มีแผนธุรกิจในการดำเนินการน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี และมีชั่วโมงทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ต่อสัปดาห์ โดยผลความสัมพันธ์ของความสำเร็จในการประกอบการกับคุณลักษณะส่วนบุคคลจะไม่พบในด้านเพศ อายุ การมีสมาชิกหลักในครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการ การเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มเติม และการมีประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการ
          2. ผลการวิจัยบุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ความใฝ่ใจในความสำเร็จ ความสม่ำเสมอและใฝ่ใจในการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีความกล้าเสี่ยง ความก้าวร้าวในการแข่งขัน ความมีนวัตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง
          3. ผลการศึกษาภูมิความรู้ความชำนาญพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ในระดับปริญญาตรี มีความชำนาญในวิชาชีพและประสบการณ์ในการบริหารอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
          4. ผลการวิจัยความสำเร็จในการประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความสำเร็จในการประกอบการอยู่ในระดับสูง รองลงมาคือระดับปานกลาง และพบความสำเร็จในระดับต่ำด้วย
          5. ผลของความสัมพันธ์พบว่า บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการแบบความเป็นตัวของตัวเอง แบบความมีนวัตกรรม แบบความใฝ่ใจในความสำเร็จ และภูมิความรู้ความชำนาญในด้านประสบการณ์ในการบริหาร มีความสัมพันธ์ในทางบวกและสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของความสำเร็จในการประกอบการได้ 9.6% โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน 6.4421
          6. ผลในแต่ละภาคและจังหวัดมีการผันแปรไปบ้างในรายละเอียดแต่ส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Abstract
            This study is the second phase of the research project “Psychological Factors of Entrepreneurial Success in Tourism and Accommodations Small Business Entrepreneurs: Knowledge”. The purposes are to study the attributions and the relationships of Entrepreneurial Orientation, Human Capital, and Success of Entrepreneurs and to develop the prediction equation to entrepreneurial success by such factors. Subjects are 525 SME Accommodation Entrepreneurs in highest successful provincess from 6 parts of tourism Thailand. The measurement instruments are individual structured interviews and questionnaires. Statistical analysis tools include frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Coefficient of Correlation and Stepwise multiple regression analysis. The results of the study are:
            1. Majority of subjects are 34-44 year-old Bangkokers of male sex. Inexperienced of being entrepreneur and in-practicing in accommodation business are mostly found among subjects. Most of them were ex-employees and have been alone running their own business since 1997 (Most), 1992 (some), 1986 (some), with starting investment of more than 1 million baht. The inspiration of career came from the cousin’s business. At least, more than 31 employees works in an organization, to which only short-plans are set for every duties/position. Not more than 50 hours per week is the average working rate of an entrepreneur. Business success did not show any correlations to sex, age, cousin’s business, extra education/training, and experienced of being entrepreneur.
            2. With ragard to Entrepreneurial Orientation, it is found that the entrepreneurs have Autonomy, Need for Achievement, and Stability & Learning at a considerably high level while Risk Taking, Innovativeness, and Competitive Aggressiveness are at a medium level.
            3. With regard to Human Capital, it is found that most of the entrepreneurs hold Bachelor’s Degree. Nevertheless, they have skills and experience in management at a considerably medium level.
            4. The entrepreneurs are generally successful at a high level, following by at a medium level. Surprisingly, a few entrepreneurs have shown their success at a low level.
            5. With Regard to the relationship of entrepreneurial Orientation, Human Capital, and Success, style of Entrepreneurial Orientation in Autonomy, Innovativeness, stability & Learning, and Achievement, including Human Capital in experience in management and career skills, positively correlate with Success. The predicting equation shows that Innovativeness, Achievement, Autonomy, of entrepreneurial Orientation, and Experience in management of Human Capital, could predict Success at 9.6%, with the error of 6.4421
            6. It has been discovered that the details and the results of the relationships have specific characteristics because they are conditioned by the context of each tourist area.