วารสาร HRintelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2553

  ผลกระทบของการควบคุมตนเองกับการกระทำผิดซ้ำในคดีชีวิตและร่างกายของเด็กและเยาวชนชายที่ถูกควบคุมตัวในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนชายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  Effect of Self-Contral Theory on the Recidivism of Criminal Offences against Person among Male Juvenile Delinquents in the Bangkok Metropolitan Area

  เสาวธาร โพธิ์กลัด

บทคัดย่อ
          วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อหาผลกระทบของปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเองและพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำทางด้านชีวิตและร่างกายของเด็กและเยาวชน โดยศึกษาในกลุ่มเด็กและเยาวชนชายที่กระทำผิดซ้ำในคดีชีวิตและร่างกายจำนวน 154 คนที่ได้รับการฝึกอบรมอยู่ในศูนย์ฝึกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษานี้มุ่งที่จะทดสอบตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของทฤษฎีการควบคุมตนเองรวมถึงปัจจัยทางด้านภูมิหลังส่วนบุคคล ที่สามารถจะใช้เป็นตัวทำนายพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำทางด้านชีวิตและร่างกาย
          ผลการศึกษาพบว่า เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีชีวิตและร่างกายมีอายุเฉลี่ยประมาณ 16 ปี 5 วัน และมีอายุปัจจุบันเฉลี่ย 19 ปี 11 เดือน เด็กและเยาวชนชายที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พบว่ายังเป็นนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 37 ซึ่งส่วนใหญ่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 48.7) และส่วนมากจะนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 96.8) ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (ร้อยละ 62.3) อาศัยอยู่กับบิดา มารดา และมากกว่าร้อยละ 50 ตอบว่าบิดาและมารดาสมรสและอยู่ด้วยกัน เกี่ยวกับลักษณะของที่อยู่อาศัยของเด็กและเยาวชนก่อนถูกจับกุม ร้อยละ 7.8 ตอบว่าบริเวณที่อยู่อาศัยนั้นมีอัตราการการเกิดอาชญากรรมสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ประมาณร้อยละ 81.2 ของเด็กและเยาวชนที่ตอบแบบสอบถามจะมีจำนวนครั้งของการกระทำผิดน้อยกว่า 10 ครั้ง และร้อยละ 73.5 กล่าวว่าประเภทคดีของการกระทำผิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับคดีฆาตกรรม
          ผลจากการวิเคราะห์โดยใช้ multiple logistic regression พบว่าตัวแปรองค์ประกอบของทฤษฎีการควบคุมตนเองที่สามารถใช้เป็นตัวทำนายการกระทำผิดซ้ำให้คดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายของเด็กและเยาวชนชาย ในการวิจัยครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การมีระดับของปัจจัยความหุนหันพลันแล่น (impulsive) สูง, การมีระดับของปัจจัยการชอบใช้ชีวิตง่ายๆ (simple task) สูง, การมีระดับของปัจจัยการชอบใช้ชีวิตแบบเสี่ยง (risk taking) สูง และการมีระดับของปัจจัยการมีอารมณ์โกรธและฉุนเฉียว (temper) สูง โดยผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางด้านชีวิตและร่างกายได้ต่อไป

Abstract
            The purpose of this research was to study the effect of self-contral factors on offences against person recidivism in 154 male juvenile offenders in the Bangkok Metropolitan area. Specifically, the study examined elements of self-cntrol theory which may predict offences against person recidivistic behavior. A variety of self-control factors were explored, including personal background variables. Data were collected from training schools in the Bangkok Metropolitan area, and the hypothesis was explored.
            Results indicated that the sample had an average age of first offence against persons of 16.05 years, and the average current age of offenders was 19.11 years. The majorities of the participants were students (37%), at junior secondary school level (48.7%), and were Buddhist (96.75%). In total, more than half had parents who were married and living together, and they lived with their parents (62.3%). About community context, 16.9% of them lived in a slum, and 7.8% lived in a high crime rate community, especially for offences against the person. 81.2% of participants reported that they had committed fewer than 10 offences, and 73.5% had a criminal history background in offences against persons, including murder.
            Multiple logistic regression analysis demonstrated that a high level of impulsivity, a high level of the simple task factor, a high level of risk taking, and a high level of temper were all significant predictors of offences against person recidivism. Implications of these findings, including ways for preventing and resolving these behaviors, are discussed.