แรงงานไทยและฟิลิปปินส์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ: ความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน และโอกาสในเออีซี
  Thai and Filipino Workers and Economic Development: Imbalance of Labor Supply and Demand and AEC Opportunities

  อาจารย์ ดร.เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ)
  Natenapha Wailerdsak (Yabushita), Ph.D.

บทคัดย่อ
          ในทศวรรรษที่ 1960 ประเทศไทยและฟิลิปปินส์มีขนาดประชากรที่ใกล้เคียงกัน แต่นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและการควบคุมประชากรที่แตกต่างกันของทั้งสองประเทศ ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจแตกต่างกันในเวลาต่อมา ประเทศไทยได้ไล่ตามและแซงหน้าฟิลิปปินส์ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยดูจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเฉลี่ยต่อหัว เป็นผลจากการที่ไทยส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิตอย่างแข็งขัน เพื่อดูดซับแรงงานส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรม รวมทั้งประสบความสำเร็จในโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติ นำไปสู่การได้ประโยชน์จากการปันผลทางประชากร ในทางตรงกันข้ามฟิลิปปินส์กลับต้องตามหลัง เพราะไม่ได้ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเชิงรุก รัฐบาลมีภาระหนี้สินมากขาดเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งโครงการวางแผนครอบครัวก็ไม่ได้ผล เมื่อมีอุปทานแรงงานเกินกว่าอุปสงค์ จึงนำไปสู่ปัญหาการว่างงานและความยากจนเรื้อรัง รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับปัญหาประชากรล้นเกิน และต้องใช้นโยบายส่งออกแรงงานไปต่างประเทศมานานกว่าสี่ทศวรรษ ขณะที่ไทยในปัจจุบันกลับต้องต่อสู้กับปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานไร้ฝีมือ และปัญหาผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติ
          บทความวิจัยนี้จะวิเคราะห์เปรียบเทียบ การพัฒนาเศรษฐกิจกับปัญหาแรงงานระหว่างประเทศไทยและฟิลิปปินส์ โดยเก็บข้อมูลจากสถิติแรงงานและสถิติการศึกษา ในระหว่างปี 1960-2012 รวมทั้งวิเคราะห์หาโอกาสการจ้างงานในอนาคตสำหรับแรงงานไทยและฟิลิปปินส์ ที่คาดว่าจะมาพร้อมกับการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และปรับความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งกลยุทธ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการแรงงาน

            คำสำคัญ: ไทย ฟิลิปปินส์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานแรงงาน

Abstract
            In the 1960s, Thailand and the Philippines had similar population sizes. However, the different policies on economic development and population control affected the rate of economic growth. Thailand overtook the Philippines in terms of GDP per capita in the 1980s, as Thailand strongly promoted foreign direct investment in manufacturing sectors to absorb surplus labours from the agricultural sector. It also initiated one of the world’s most successful national family planning programmes and gained a demographic dividend. In contrast, the Philippines lagged behind because it was not dedicated to the promotion of foreign direct investment and its family planning programme was ineffective. When the labour supply exceeds demand, unemployment and poverty problems increase. The Philippines government, faced with an overpopulation problem, has adopted a labour export policy for the last four decades. In contrast, Thailand has struggled with labour shortages, particularly unskilled labours, and an increasing proportion of the elderly.
            This article aims to provide a comparative analysis of the labour problems between Thailand and the Philippines using panel data compiled from labour force surveys and educational statistics for the period 1960–2012. Then it analyzes the employment opportunities for the Thai and Filipino workers that might come with the ASEAN Economic Community (AEC) in 2015, which is expected to help increase ASEAN competitiveness and adjust the imbalances in labour supply and demand among member countries. Labour strategies needed ahead of AEC will also be discussed.

            Keywords: Thailand, Philippines, ASEAN Economic Community (AEC), imbalances of labour supply and demand