ความสุขเชิงจิตวิทยาในผู้สูงอายุ
Elderly Happiness in Psychological Aspect
รองศาสตราจารย์ อัจฉรา สุขารมณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


บทคัดย่อ
          บทความนี้นำเสนอเรื่อง ความสุขเชิงจิตวิทยาในผู้สูงอายุ การที่ผู้สูงอายุจะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขนั้นต้องประกอบด้วย การมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี สุขภาพกายหมายถึงการมีสุขภาพที่ดี ด้วยการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง สุขภาพใจหมายถึงการมีสุขภาพจิตที่ดีในการเผชิญปัญหา โดยสามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น สามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีทั้งภายในและภายนอกครอบครัว ยอมรับสิ่งแตกต่างที่เข้ามาในชีวิตในทางบวก สามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์และสามารถดูแลจิตใจตนเองด้วยการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น ขจัดความขัดแย้งและปรับตัวได้ดีโดยสามารถทำตนให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นโดยส่วนรวมด้วยจิตที่มีความสุขอย่างแท้จริง

           คำสำคัญ : ความสุขเชิงจิตวิทยาในผู้สูงอายุ


Abstract

          This article presents Elderly Happiness in Psychological Aspect. Elders are able to live happily by having good health and good mental condition. Healthy means good physical health condition by perceiving one’s own health. Good mental health means one’s being ready to face the problem relating to the relationships with others, both inside and outside the family, accepting the differences in life positively, adapting oneself in every situations and taking care their own mind, by having public mind. Therefore one’s who have all the aspects will be able to live their life with true happiness.

           Keywords: Elderly, Happiness, Psychological