การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจที่จะนำ
อัตมโนทัศน์และลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย
The Comparative Study of Relationship between Motivation to Lead, Self-Concept and Leadership Style of Women in Management in Public and
Private Sectors Management in Thailand

ปุณณดา จงอริยตระกูล
หัวหน้าแผนกพัฒนากระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

ดร. วนิดา พลเดช
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


บทคัดย่อ
          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจที่จะนำ อัตมโนทัศน์ และลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงแรงจูงใจที่จะนำ และอัตมโนทัศน์ ที่ส่งผลต่อลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย โดยมุ่งศึกษาแนวทางในการพัฒนาผู้บริหารสตรีให้มีลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ออกแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สเตพไวส์ มัลติเพิล รีเกรสชั่น ผลการวิจัยในผู้บริหารสตรีภาครัฐ พบว่า แรงจูงใจที่จะนำด้านรักที่จะนำเพื่อความผูกพันทางใจ ส่งผลต่ออัตมโนทัศน์ด้านทัศนคติที่มีต่อตนเอง และอัตมโนทัศน์ด้านทัศนคติที่มีต่อตนเองส่งผลต่อลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการวิจัยในผู้บริหารสตรีภาคเอกชน พบว่า แรงจูงใจที่จะนำด้านรักที่จะนำเพื่อความผูกพันทางใจ ส่งผลต่ออัตมโนทัศน์ด้านทัศนคติที่มีต่อตนเองและด้านภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ซึ่งอัตมโนทัศน์ทั้ง 2 ด้าน ส่งผลต่อลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการวิจัยสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางให้สตรีในตำแหน่งบริหารทุกระดับ นำผลจากการวิจัยไปใช้ในการปรับแรงจูงใจที่จะนำ อัตมโนทัศน์ และลักษณะภาวะผู้นำของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อเข้าสู่การเป็นผู้นำสตรีที่ประสบความสำเร็จได้


           คำสำคัญ : แรงจูงใจที่จะนำ อัตมโนทัศน์ ลักษณะภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป  ผู้บริหารสตรี


Abstract

            The purpose of this research is to study relationship between motivation to lead, self-concept, and leadership style of women in management in both public and private sector in Thailand. This research focuses on development of women in management applying a transformational leadership style. This quantitative research used questionnaires to collect data from a sample of 400 people. This research used Stepwise Multiple Regression for studying motivation to lead and self-concept affecting leadership style of women in management in both public and private sector in Thailand. The results show that the study of relationship between motivation to lead and self-concept affecting transformational leadership style of women in management in both public and private sector can be used to create model for developing women in management in both public and private sector. For public sector, the study found that women attitude of self-conception is impacted by affective identity which is one type of motivation to lead and women’s transformational leadership style is dependent with women attitude of self-concept at significant level of 0.05. For private sector, women’s transformational leadership style dependent on women attitude of self-concept and also women’s self-image and both of these factors are influenced by affective identity part of motivation to lead at significant level of 0.05. The results from this research can be used to guide all level of women in management to improve motivation to lead, self-concept, and leadership style for increasing confidence and improving potential for being successful women in management.



           Keywords: Motivation to Lead, Self-Concept, Transformational Leadership Style,
Women in Management