การศึกษามิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

The Study of the Cultural Dimensions of Teaching Career and the Student-Centered Learning Management: The Case Study of Schools under Bangkok Metropolitan Administration

ปิยะณัฐ ศรีวิไลย์ (Piyanat Sriwilai) (1)
อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม (Oranuch Pruetipibultham) (2)


บทคัดย่อ
          การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์มิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครู 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากครูของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 540 คน นำผลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน พบว่าวิชาชีพครูมีค่าดัชนีมิติวัฒนธรรมความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ (PDI) สูง มิติความเป็นปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยม (IDV) ต่ำ มิติความเป็นเพศชายและเพศหญิง (MAS) ต่ำ มิติการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (UAI) ต่ำ มิติการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว (LTO) ต่ำ และมิติการมีอิสระและการมีข้อจำกัด (IVR) ต่ำ และครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมตามบทบาทของครู การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลอยู่ในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ามิติวัฒนธรรมโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (r =  .308, p < .01) เมื่อวิเคราะห์มิติวัฒนธรรมรายมิติ พบว่ามิติ LTO มีความสัมพันธ์มากที่สุด (r = .302, p < .01) รองลงมาคือมิติ MAS (r = .298, p < .01) และมิติ PDI มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด (r = -.107, p < .01) ดังนั้นหน่วยงานที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาควรให้ความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนและพัฒนาตัวแปรดังกล่าวข้างต้นให้มีความสอดคล้องกันมากขึ้น

 

           คำสำคัญ : วัฒนธรรมของวิชาชีพครู,  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร


Abstract

           The objectives of this study were to 1) analyze Hofstede’s cultural dimensions 2) analyze student-centered learning management and 3) analyze the relationships between Hofstede’s cultural dimensions for teaching career and student-centered learning management by using the quantitative method (survey questionnaires). The sample for this study was collected from 540 teachers working for schools under the Bangkok Metropolitan Administration. The results revealed that teaching career have high index score of power distance (PDI), low index score of individualism and collectivism (IDV), low index score of masculinity and femininity (MAS), low index score of uncertainty avoidance (UAI), low index score of lone-term orientation (LTO), low index score of indulgence versus restraint (IVR). In the pasts of student-centered learning management found that all 3 parts (behavior, activity, evaluation) were still in high level. Moreover. The cultural dimensions have relationships with student-centered learning management with statistically significance at .308. The Long-Term Orientation dimension has the strongest relationship with student-centered learning management with significance at .302. Masculinity and Femininity dimension relationship with the student-centered learning management significance at .298. Interestingly, The Power Distance dimension displayed the negative and lowest relationship with the student-centered learning management significantly at -.107. So that, related education organization should consider in specify explicit strategy for supporting and developing the education in Thailand context.

           Keywords: Cultural dimensions,  Student – centered learning management, Bangkok metropolitan schools

--------------------------------------------------------------------------------------

(1) นิสิตระดับปริญญาโท สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
   School of Human Resource Development , National Institute of Development Administration
   E-mail: piyanat.sri@stu.nida.ac.th
 (2) อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์    Assistant Professor, School of Human Resource Development , National Institute of Development Administration