ค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิตในมุมมองทางประวัติศาสตร์
ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ : ข้อแนะนำเกี่ยวกับการประมาณ
ค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิตของประเทศไทย

ดร.กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์
อาจารย์ประจำ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 12 มิถุนายน 2565
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 13 มิถุนายน 2566
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 22 มิถุนายน 2566

บทคัดย่อ
          บทความนี้อธิบายค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิตตามมุมมองทางประวัติศาสตร์และตั้งอยู่บนฐานสิทธิมนุษยชน วิธีการศึกษานี้พิจารณาจากเหตุการณ์สำคัญและเอกสารหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อถกเถียงกับกลไกทางการเมืองและกฎหมายเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยเพื่อยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตที่มีคุณค่า ข้อเสนอของผู้เขียนประยุกต์ระเบียบวิธีค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิตของ Richard Anker ทั้งการใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ แต่ Anker Methodology ไม่ได้เน้นเฉพาะข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ การศึกษาต้องใช้วิธีการสำรวจหรือสัมภาษณ์ในพื้นที่โดยผู้วิจัย การประมาณการค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิตศึกษาได้หลายระดับในระดับเมือง จังหวัด และประเทศ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะของประเทศนั้น ท้ายนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างและประมาณการค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิตไม่มีสูตรสำเร็จรูป และข้อเสนอขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นข้อแนะนำไม่ใช่มาตรฐานแรงงานเพื่อบังคับประเทศสมาชิกให้นำไปปฏิบัติ

          คำสำคัญ : ค่าจ้างเพื่อดำรงชีวิต, มาตรฐานการดำรงชีวิต, สิทธิมนุษยชน, ค่าจ้างขั้นต่ำ, องค์การแรงงานระหว่างประเทศ

The International Labour Organization's Historical Perspective
on the Living Wage: Thailand's Living
Wage Estimation Recommendations

Kritsada Theerakosonphong, DPA.
Faculty of Arts, Silpakorn University

Received : June 12, 2022
Revised : June 13, 2023
Accepted : June 22, 2023

Abstract

           This article examines the living wage from historical and human rights perspectives. The study explores Thailand's political mechanisms and regulations governing minimum wages for upgrading a decent standard of living by taking historical events and key documents of the International Labour Organization (ILO) into consideration. Although Richard Anker's methodology does not just focus on secondary data, which is gathered by the National Statistical Office of Thailand, the author's recommendation applies it to both primary and secondary data. Surveys or interviews must be utilized by the researcher to collect data at the location. The calculation of a living wage at various levels in the city, province, and country relies on the particular circumstances in Thailand. Last but not least, there are no set rules for calculating the minimum wage or estimating the living wage, and the ILO's recommendations are only meant to be guidelines rather than labor regulations that state members should implement.

          Keywords: Living wage, Standard of living, Human rights, Minimum wage, International Labour Organization

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      Kritsadathe@outlook.com