ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในประเทศไทย

จุฬาลักษณ์ อิ่นแก้ว
นักศึกษาปริญญาโท สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ศุทธิดา ชวนวัน
อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 10 มีนาคม 2567
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 10 เมษายน 2567
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 13 พฤษภาคม 2567

บทคัดย่อ
           บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในประเทศไทยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากข้อมูลทุติยภูมิของโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรเป้าหมายของการศึกษานี้ คือ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนคนเดียวเป็นประจำ โดยไม่มีบุคคลอื่นอาศัยอยู่ด้วย และสามารถประเมินความสุขได้ด้วยตนเอง จำนวนทั้งหมด 5,196 คน
           ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงาน มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ซึ่งเกือบทั้งหมดมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่ประเมินภาวะสุขภาพของตนเองว่าดี นอกจากนี้ บุตรนอกครัวเรือนส่วนใหญ่จะติดต่อกับผู้สูงอายุผ่านทางโทรศัพท์ทุกสัปดาห์ และมาเยี่ยมเป็นประจำทุกวัน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง พบว่า เพศ ระดับการศึกษา รายได้ ความเพียงพอของรายได้ การถือครองทรัพย์สิน การประเมินภาวะสุขภาพ การประเมินสุขภาพฟัน การมีกิจกรรมทางกาย การติดต่อกับบุตรนอกครัวเรือนทางโทรศัพท์ การเยี่ยมเยียนของบุตรนอกครัวเรือน การสนับสนุนจากชุมชน และการเข้าร่วมกิจกรรม มีผลต่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในประเทศไทย ทั้งนี้ จึงควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ และสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างการตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง

          คำสำคัญ : ความสุข, ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง, ผู้สูงอายุไทย


Factors Associated with Happiness of Older Adults Living Alone in Thailand

Julaluck Inkaew
Master Student, Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Sutthida Chuanwan
Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Nucharapon Liangruenrom
Institute for Population and Social Research, Mahidol University


Received : March 10, 2024
Revised : April 10, 2024
Accepted : May 13, 2024

Abstract

           This research aims to study the factors that associated with happiness of older adults living alone in Thailand. This quantitative research using secondary data from a project on “The 2021 Survey of The Older Persons in Thailand” conducted by the National Statistical Office (NSO). The target population was older adults from the age above 60 years old, living alone in a household and were able to assess their own happiness. The sample consisted of 5,196 individuals in total.
           The result shows that more than half of these population are female, aged 60-69 years, and predominantly retired. They possess sufficient financial resources and independence in their daily activities, with most reporting good health. In addition, most family maintained regularly contact with the elderly via phone every week and visited them daily. This research analyzed the factors that associated with happiness of older adults living alone in Thailand. The result shows associated of gender, education level, income, sufficiency of income, asset ownership, perception of health status, dental health, physical activity, phone contact with family, family visitation, community support, and participation in social activities on the happiness of older adults living alone in Thailand. Therefore, it is necessary to encourage cooperation between the government, private sector, local administrative organizations, community leaders and village health volunteers in developing the potential of the elderly and supporting their participation in social activities to promote self-awareness.

          Keywords: Happiness, Older Adults Living Alone, Thai Older Person

---------------------------------------------------------------------------

Corresponding Author E-mail :       julaluck.inkaew@gmail.com