บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ : รูปธรรมของการจัดการความยากจนในสังคมเสรีนิยมใหม่

ยุวดี วงศ์วีระประเสริฐ
นักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 29 กุมภาพันธ์ 2567
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 10 เมษายน 2567
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 11 เมษายน 2567

บทคัดย่อ
           บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง กระบวนการประกอบสร้าง ความจนในสังคมเสรีนิยมใหม่ กรณีศึกษา บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษาการปรับตัวของคนจนภายใต้นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและวิเคราะห์การจัดการสวัสดิการคนจนตามแนวทางบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่นำไปสู่กระบวนการสร้าง “ความยากจน” ภายใต้สังคมเสรีนิยมใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการทบทวนแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเสรีนิยมใหม่ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มครัวเรือนยากจนในพื้นที่ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จำนวน 10 ครัวเรือน ที่ได้รับบัตรสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเพื่อสอบถามความคิดเห็นต่อโครงการ และลักษณะการดำเนินชีวิตภายใต้โครงการบัตรคนจนและการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาผนวกรวมและพรรณาความบนฐานคิดเสรีนิยมใหม่โดยอาศัยแนวคิดหลักจาก เดวิด ฮาร์วี่ (David Harvey) จิม แมคไกวแกน (Jim McGuigan) ตลอดจนเวนดี้ บราวน์ (Wendy Brown) ในการอธิบายปรากฎการณ์ผ่านมุมมองต่าง ๆ
           ผลการศึกษา พบว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นรูปธรรมของระบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับหลักการแนวคิดเสรีนิยมใหม่ในหลายมิติ การให้รัฐแบกรับภาระให้น้อยลงและลดสวัสดิการที่ประชาชนพึงได้และหันไปให้ประชาชนรับผิดชอบชีวิตของตนเองให้มากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นและสนับสนุนวิธีการตลาดเสรีนิยมได้ขยายออกไปและแพร่กระจายไปทุกภาคส่วนของสังคม เริ่มต้นจากการสร้างความหมายใหม่ ลดทอนความหมายของยากจนลง สลายเทศะและเวลา การสร้างระบบรายงานตัว การพัฒนาเทคโนโลยีคัดกรอง ตลอดจนการสร้างพื้นที่เฉพาะแทรกซึมในชีวิตประจำวันผ่านสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่รองรับหลักการหมุนเวียนของสินค้าระยะสั้นของทุนนิยมอย่างชัดเจน ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของหลักการเสรีนิยมใหม่ต่อการจัดการความยากจนในประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว กระบวนการทั้งหมด ได้กลายมาเป็นชุดความคิดที่ตอกย้ำความคิดการมองความยากจนแบบใหม่ให้เกิดขึ้น โดยคนจนหรือผู้รับสิทธิมีหน้าที่เพียงยอมรับและปรับตัวต่อการปรับเปลี่ยนนี้อย่างไร้ทางเลือก เพื่อแลกกับการเป็นผู้ที่ถูกนับในระบบ ฉะนั้น การเป็นคนจนในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแต่มีสภาวะในเชิงวัตถุวิสัยผ่านการหยิบจับสิ่งของรอบตัวเท่านั้น แต่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้กระตุ้นให้บุคคลรับรู้ความหมายในเชิงอัตวิสัยด้วยจากการประเมินตนเองตามคุณสมบัติที่รัฐวางไว้ ความยากจนตามนัยนี้ จึงเป็นกระบวนการที่สร้างให้เกิดการรับรู้ตนเองกับวัตถุรอบกายที่ประกอบสร้างให้ความหมายของความยากจนชัดเจนขึ้น

          คำสำคัญ : บัตรคนจน, สวัสดิการ, เสรีนิยมใหม่


State Welfare Card: Concrete Poverty Management in a Neoliberal Society

Yuwadee Wongweeraprasert
Ph.D. student, Interdisciplinary Thammasat University


Received : February 29, 2024
Revised : April 10, 2024
Accepted : April 11, 2024

Abstract

           This academic article is part of the thesis on construction processes. Poverty in a neoliberal society: a case study of state welfare cards It has three important objectives: to explain the nature of welfare card for the poor in the neoliberal trend; To study the situation of poverty and the adjustment of the poor under the state welfare card policy and to analyze the welfare management of the poor according to the state welfare card guidelines that lead to the process of creating "poverty" under neoliberal society. Tools used in education Based on qualitative research through concept review. Theories related to neoliberalism and related research and in-depth interviews with poor households in the Tham Lot Subdistrict area. Pang Mapha District, 10 households received welfare cards. The goal is to ask for opinions on the project and lifestyles under the Poor People's Card Project to see how they are involved in the change. To integrate the information obtained and explain the neoliberal thinking based on main ideas from David Harvey, Jim McGuigan, and Wendy Brown. in explaining phenomena in various dimensions
           The results of the study found that state welfare cards It is a concrete welfare system that is consistent with neoliberal principles in many dimensions. Reducing the burden on the government and reducing the welfare that people should receive, and instead allowing people to take more responsibility for their own lives. Including stimulating and supporting liberal market methods to expand and spread to all sectors of society. It starts with creating new meaning. Diminish the meaning of poverty Dissolving time and time creating a self-reporting system development of screening technology as well as creating specific spaces that permeate everyday life through various goods and services that clearly support the principle of short-term circulation of goods of capitalism. All show the connection of neoliberal principles to poverty management in the country. In the end, whole process It has become a set of ideas that reinforces the idea of looking at poverty in a new way. The poor or rights recipients are only obliged to accept and adapt to this change without any choice. In exchange for being counted in the system, therefore being poor today It is not only about having an objective state through the handling of objects around us. But the state welfare card It has stimulated people to perceive the subjective meaning as well. Self-evaluation according to the qualifications set by the state Poverty in this sense Therefore, it is a process that creates awareness of oneself and the objects around one's body that make the meaning of poverty more clear.

          Keywords: Poorcard, Welfare, Neoliberalism

---------------------------------------------------------------------------

Corresponding Author E-mail :       yuwadeesocio.tu@gmail.com
- ข้อมูลจากภาคสนามเป็นการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่ นั่นคือ กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เนื่องจากชุมชนที่ลงสนาม เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีข้อจำกัดด้านภาษา อีกทั้งยังเป็นเรื่องของความไว้วางใจต่อการทำงานให้กับผู้ให้ข้อมูล โดยก่อนลงสนาม ผู้วิจัยได้ทำการประสานขอความร่วมมือไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า ซึ่งทางหน่วยงานได้ประสานความร่วมมือต่อไปยังอาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้เป็นผู้เลือกชุมชนและอธิบายกับครัวเรือนตัวอย่างให้ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งในบทความครั้งนี้ ได้หยิบยกตัวอย่างคำสัมภาษณ์มาเพียงบางส่วนเพื่อสนับสนุนข้อมูลที่ถูกอธิบายเท่านั้น โดยไม่ปรากฎชื่อผู้ให้ข้อมูล
- ผู้วิจัยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับบัตรสวัสดิการในช่วงปี พ.ศ.2559 (เฟสแรก) จนถึงก่อนโควิดในปี 2562